top of page

Culture

 รองเง็ง (Rong - gang)

รองเง็ง เป็นศิลปะการเต้นรำประกอบดนตรี หรือบทร้องของชาวไทยมุสลิม

รองเง็งคือการเต้นรำของคู่ชายหญิง ที่นิยมกันในปัตตานี ยะลา นราธิวาส และรัฐในมาเลเซีย รวมทั้งอินโดนีเซีย กล่าวกันว่ารองเง็งพัฒนามาจากการเต้นรำของชาวตะวันตก เช่น โปรตุเกส สเปน และฮอลันดา ซึ่งเข้ามาผยแพร่ตั้งแต่ยุคล่าอณานิคม เข้าใจว่าตอนพวกฝรั่งคงเต้นรำกันอย่างสนุกสนาน ชาวพื้นเมืองเกิดความสนใจจึงขอฝึกซ้อมจนเกิดความชำนาญ และคิดเพลงและจังหวะต่าง ๆ ตามมา เช่น เพลงลาฆูดูวอ เลนัง(ลานัง) ปูโจะปีซัง จินตาซายัง อาเนาะดีดิ มะอีนังชวา  และมะอีนังลามา

เล่ากันว่าการเต้นรองเง็งที่ปัตตานีในอดีต มักนิยมในวังขุนนาง เช่น วังเจ้าเมืองยะหริ่ง ของพระยาพิพิธเสนามาตย์ มีหญิงสาวซึ่งเป็นข้าทาสบริวารฝึกรองเง็งไว้ต้อนรับแขกหรือแสดงในงานรื่นเริง หรืองานพิธีต่างๆ เป็นประจำ ต่อมารองเง็งแพร่หลายมากขึ้น เช่นหลังแสดงมะโย่ง (ศิลปะการแสดงคล้ายโนรา) จะเปิดโอกาสให้ผู้ชมขึ้นไปเต้นรองเง็งกับนักแสดงมะโย่งอีกด้วย

maxresdefault.jpg
IMG_0256.jpg
มโนราห์ หรือ โนรา (Manohra)

มโนราห์ หรือ โนรา เป็นการละเล่นพื้นเมืองที่สืบทอดกันมานานและนิยมเล่นในภาคใต้ เป็นการละเล่นที่ต้องร้องและรำไปพร้อมกัน บางส่วนเล่นเป็นเรื่อง บางส่วนจะแสดงตามคติความเชื่อเป็นพิธีกรรม โนราเป็นศิลปะพื้นเมืองภาคใต้เรียก โนรา แต่คำว่า โนรา เป็นคำที่เกิดขึ้นมาในสมุยกรุงศรีอยุธยา โดยการนำเอาเรื่อง ‘พระสุธร-มโนราห์’ มาแสดงเป็นละครชาตรี จึงมีคำเรียกว่า ‘มโนราห์’ มาตั้งแต่นั้นมา จุดเริ่มต้นของโนราได้รับอิทธิพลมาจากการร่ายรำของอินเดียโบราณก่อนสมัยศรีวิชัยที่มาจากพ่อค้าชาวอินเดีย ซึ่งสังเกตุได้จากเครื่องดนตรีที่เรียกว่า ‘เบญจสังคีต’ ประกอบไปด้วยโหม่ง ฉิ่ง ฉับ ทับ กลอง ปี่ใน เป็นเครื่องดนตรีโนราและท่าร่ายรำที่ละม้ายคล้ายคลึงกับท่าร่ายรำของอินเดียและเริ่มมีโนราเป็นกิจลักษณะขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๑๘๒๐ ในช่วงสมัยสุโขทัยตอนต้น จากอดีตถึงปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับสภาพสังคมที่เปลี่ยนไปด้วย การแสดงโนราจึงจำเป็นตีองเปลี่ยนวิธีการแสดงไปบ้างเพื่อให้อยู่ได้ในสภาพปัจจุบัน โนราเป็นเอกลักษณ์ทางมรดกวัฒนธรรมของคนไทย ที่มีความผูกพันกับชาวภาคใต้มาช้านานศิลปะการรำโนรา มีทั้งลีลาที่ว่องไวทั้งกระฉับกระเฉงแต่ก็แฝงไปด้วยความสง่าสภาพสังคมที่ก้าวล้ำนำสมัย ยิ่งทำให้โนราเป็นศิลปะที่หาชมได้ยากมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นเยาวชนผู้เป็นเจ้าของควรเป็นผู้อนุรักษ์มรดกอันล้ำค่านี้ไว้ให้มีอยู่เป็นเอกลักษณ์ภาคใต้ต่อไป

@2019 by Theezer proudly created with wix.com

bottom of page