top of page
IMG_1800.PNG

Southern Recital

About my Project

ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีภูมิภาคและแหล่งอารยธรรมที่แตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ ซึ่งแต่ละภูมิภาคก็มีอารยธรรมที่แตกต่างกันออกไป "ภาคใต้" เป็นภูมิภาคที่มีอารยธรรมเก่าแก่มากมายไม่ว่าจะเป็น วัฒนธรรม ศิลปะ ดนตรี และสถานที่ที่สำคัญและสถานที่เที่ยวอีกมากมายทีถูกสืบทอดต่อ ๆ กันรุ่นสู่รุ่น ที่คนทั่วไปที่ยังไม่รู้จักและยังไม่ได้สัมผัสสิ่งเหล่านี้ จึงอยากจะนำสิ่งเหล่านี้มาเผยแพร่แก่ผู้ชม เพื่อให้ได้รับสิ่งเหล่านี้ผ่านการแสดงทั้งหมดของผม

Image by Christine Wehrmeier
52386916_574339613069541_215663222898819
Image by Frankie Spontelli
Image by Vitaly Sacred

Music of the Southern

ความเป็นมาของดนตรีภาคใต้

ชนในกลุ่มของภาคใต้ของไทย มีหลายเผ่าพันธุ์และมีหลายกลุ่ม ในอดีตมีการติดต่อค้าขาย มีความสัมพันธ์กับอินเดีย จีน

ชวา - มลายู ตลอดจนติดต่อกับคนไทยในภาคกลาง ที่เดินทางไปค้าขายติดต่อกันด้วย ในชนบทความเจริญยังเข้าไปไม่ถึง ลักษณะของ ดนตรีพื้นบ้าน จึงเป็นลักษณะเรียบง่าย ประดิษฐ์อย่างง่าย ๆ จากวัสดุใกล้ตัว มีการรักษาเอกลักษณ์ ดนตรีพื้นบ้านดั้งเดิม น่าจะมาจากเผ่าพันธุ์ เงาะซาไก โดยใช้ไม้ไผ่ลำขนาดต่าง ๆ กัน ตัดออกเป็นท่อน สั้นบ้างยาวบ้าง ตัดปากของกระบอกไม้ไผ่ ตรงหรือเฉียง บ้างก็หุ้มด้วยใบไม้ กาบของต้นพืช ใช้บรรเลง (ตี) ประกอบการขับร้องและเต้นรำ เครื่องดนตรีค่อย ๆ พัฒนามาเป็นแตระ กรับ ซึ่งล้วนแล้วแต่มีมาแต่เดิมทั้งสิ้น

 

หลังจากมีการติดต่อ การค้าขายกับอินเดียและจีน การถ่ายโยงวัฒนธรรมย่อมเกิดขึ้น สังเกตได้อย่างชัดเจนจาก ทับ (กลอง) ที่ใช้ประกอบการเล่นโนรา มีร่องรอยอิทธิพลของอินเดียอย่างชัดเจน และการมีอาณาเขตติดต่อกับชวา - มลายู ภาษาและวัฒนธรรมทางดนตรี จึงถูกถ่ายโยงกันมาด้วย เช่น แถบจังหวัดภาคใต้ที่ติดเขตแดน อาจกล่าวได้ว่าดนตรีพื้นบ้านของภาคใต้มีอิทธิพลแบบชวา มลายูก็ยังไม่ผิด เช่น รำมะนา (กลองหน้าเดียว)

ในช่วงสมัยกรุงธนบุรี เมืองนครศรีธรรมราช เป็นศูนย์กลางความเจริญ ทางศิลปวัฒนธรรมด้านการแสดงและดนตรี จนมีชื่อว่า “เมืองละคอน” ในสมัยกรุงธนบุรีพระเจ้าตากสินมหาราช โปรดให้นำละครจากเมืองนครศรีธรรมราช ไปฝึกละครให้นักแสดงในสมัยนั้น จึงเป็นการถ่ายโยงวัฒนธรรม ด้านดนตรีของภาคกลางกลับไปสู่ เมืองนครศรีธรรมราชด้วย อาทิ เช่น ปี่นอก ซออู้ และซอด้วง

_edited.jpg

ความสำคัญของดนตรีภาคใต้

ดนตรีพื้นบ้านภาคใต้เป็นส่วนสำคัญของสังคมและวัฒนธรรม โดยสามารถสรุปได้ดังนี้

1. บรรเลงเพื่อความรื่นเริง คลายความเหน็ดเหนื่อย จากการทำงาน ซึ่งจะบรรเลงควบคู่กันไป กับการละเล่นและการแสดงเสมอ เพราะดนตรีพื้นบ้านภาคใต้นั้น จะไม่นิยมบรรเลงล้วน ๆ เพื่อฟังโดยตรง แต่จะนิยมบรรเลงประกอบการแสดง

2. บรรเลงประกอบพิธีกรรม เพื่อบวงสรวง หรือติดต่อกับสิ่งลี้ลับ เพราะในอดีตสังคมส่วนใหญ่ ติดอยู่กับความเชื่อเรื่องผี วิญญาณ เช่น มะตือรี ของชาวไทยมุสสลิม โต๊ะครึม ของชาวไทยพุทธ ที่ใช้เพื่อบรรเลงในงานศพ โดยมีความเชื่อว่าเป็นการนำวิญญาณสู่สุคติ การบรรเลงกาหลอ ในงานศพบทเพลงส่วนหนึ่ง เป็นการบรรเลงเพื่ออ้อนวอนเทพเจ้า ดนตรีชนิดนี้จึงมุ่งให้เห็นความศักดิ์สิทธิ์ มีอานุภาพให้เกิดความขลัง ยำเกรง

3. ใช้บรรเลงเพื่อการสื่อสาร บอกข่าว เช่น การประโคมปืด และประโคมโพน เป็นสัญญาณบอกข่าวว่าที่วัดมีการทำเรือพระ (ในเทศกาลชักพระ) จะได้เตรียมข้าวของไว้ทำบุญ และไปช่วยตกแต่งเรือพระ หรือการได้ยินเสียงบรรเลงกาหลอ ก้องไปตามสายลมก็บอกให้รู้ว่ามีงานศพ ชาวบ้านก็จะไปช่วยทำบุญงานศพกันที่วัดนั้น ๆ โดยจะสืบถามว่าเป็นใคร ก็จะไปเคารพศพ โดยไม่ต้องพิมพ์บัตรเชิญ เหมือนปัจจุบันนี้

4. ใช้บรรเลงเพื่อเสริมสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ เช่น การบรรเลงกรือโต๊ะ หรือบานอโดยชาวบ้าน จะช่วยกันสร้างดนตรีชนิดนี้ขึ้นมา ประจำหมู่บ้านของตน และจะใช้ตีแข่งขันกับหมู่บ้านอื่น ๆ เพื่อเป็นการสนุกสนาน และแสดงพลังความสามัคคี เพราะขณะที่จะมีการประกวดจะต้องช่วยกันทำ ถ้าแพ้ก็ถือว่าเป็นการปราชัยของคนทั้งหมู่บ้าน ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาของการแข่งขัน ในโอกาสต่อไปก็จะต้องช่วยกันทำใหม่ ให้ดีกว่าเก่า

About of South

( เกี่ยวกับภาคใต้ )

Tradition

ประเพณี

Culture

วัฒนธรรม

Art

ศิลปะ

Provinces of Southern

จังหวัดในภาคใต้

Music Instrument of the Southern

ทับ
thap.jpg

ทับ (โทนหรือทับโนรา) เป็นคู่ เสียงต่างกันเล็กน้อย ใช้คนตีเพียงคนเดียว เป็นเครื่องตีที่สำคัญที่สุด เพราะทำหน้าที่ คุมจังหวะและเป็นตัวนำในการเปลี่ยนจังหวะทำนอง (แต่จะต้องเปลี่ยนตามผู้รำ ไม่ใช่ผู้รำ เปลี่ยน จังหวะลีลาตามดนตรี ผู้ทำหน้าที่ตีทับจึงต้องนั่งให้มอง เห็นผู้รำตลอดเวลา และต้องรู้เชิง ของผู้รำ)

แตระ
kl;.jpg

แตระ หรือ แกระ คือ กรับ มี ทั้งกรับอันเดียวที่ใช้ตีกระทบกับรางโหม่ง หรือกรับคู่ และมีที่ร้อยเป็นพวงอย่างกรับพวง หรือใช้เรียวไม้หรือลวด เหล็กหลาย ๆ อันมัดเข้าด้วยกันตีให้ปลายกระทบกัน

ฉิ่ง
93d70d043240b78048c3d18d5718909f.jpg

ฉิ่ง หล่อด้วยโลหะหนารูปฝาชีมีรูตรงกลางสำหรับร้อยเชือก สำรับนึงมี ๒ อัน เรียกว่า ๑ คู่เป็นเครื่องตีเสริมแต่งและเน้นจังหวะ ซึ่งการตีจะแตกต่างกับการตีฉิ่ง ในการกำกับจังหวะของดนตรีไทย

กลองทัด
kongtus_edited.jpg

กลองทัด เป็นกลองขนาดเล็ก (ใหญ่กว่ากลองของหนังตะลุงเล็กน้อย) ๑ ใบทำหน้าที่เสริมเน้นจังหวะและล้อเสียงทับ

โหม่ง
20170412143751w6fa.jpg

โหม่ง เป็นเครื่องดนตรีที่มีส่วนสำคัญในการขับบท ทั้งในด้านการให้เสียงและให้จังหวะเพราะโนราหรือหนังตะลุง ต้องร้องบทให้กลมกลืนกับ เสียงโหม่งซึ่งมี ๒ ระดับ คือเสียงทุ้มและเสียงแหลม โดยจะยึดเสียงแหลมเป็นสิ่งสำคัญ ส่วนไม้ตีโหม่งจะใช้ยางหรือด้าย ดิบหุ้มพันเพื่อให้มีเสียงนุ่มเวลาตี

ปี่
ryhj.jpg

ปี่ เป็นเครื่องเป่าเพียงชิ้นเดียวของวง นิยมใช้ปี่ใน หรือ บางคณะอาจใช้ปี่นอก ใช้เพียง ๑ เลา ปี่มีวิธีเป่าที่คล้ายคลึงกับขลุ่ย ปี่มี ๗ รูแต่สามารถกำเนิดเสียงได้ ถึง ๒๑ เสียงซึ่งคล้ายคลึงกับเสียงพูด มากที่สุด

bottom of page