top of page
Franz_anton_hoffmeister.jpg

บทเพลงนี้เป็นบทเพลงหนึ่งที่ F.A. Hoffmeister ได้ประพันธ์ขึ้นให้กับวิโอลา ในเพลงมีทั้งหมด 3 ท่อนด้วยกัน ประกอบไปด้วย

ท่อนที่ 1 ท่อนนี้มีพื้นเพมาจากรูปแบบ  Ritornello ของยุค
บาโรก แต่ถูกผสมเข้าด้วยกันกับโครงสร้างแบบ Sonata เริ่มต้นด้วยบันไดเสียงเมเจอร์ โดยบรรเลงเปิดขึ้นโดยวงออร์เคสตรา จนถึงห้องที่  20 ได้มีการเปลี่ยนบันไดเสียงเป็นไมเนอร์ในช่วงสั้น ๆ และได้เปลี่ยนกลับเสียงบันไดเสียงเมเจอร์เหมือนช่วงแรก จนถึงห้องที่ 35 นักดนตรีเดี่ยวจึงเริ่มบรรเลงบทเพลง

ท่อนที่ 2 โดยส่วนใหญ่บทเพลงประเภทคอนแชร์โตในท่อนที่ 2 จะมีโครงสร้างแบบสามตอน โดยรูปแบบโครงสร้างนี้ประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลักคือ A-B-A บทเพลงเริ่มต้นด้วยวงออร์เคสตราในบันไดเสียง  D ไมเนอร์ ต่อจากนั้นผู้บรรเลงเดี่ยวจะเข้ามาในห้องที่ 7 ด้วยทำนองหลักของช่วง A หลังจากนั้นบทเพลงจะเข้าสู่ช่วง B ในห้อง 38 โดยการเปลี่ยนบันไดเสียงไปยัง F เมเจอร์ บทเพลงยอ้นกลับมาช่วง A อีกครั้งในห้องที่ 53 และ เปลี่ยนบันไดเสียงกลับมาที่ D ไมเนอร์เหมือนเดิม

ท่อนที่ 3 ท่อนนี้ในโครงสร้างแบบ Rondo ผู้บรรเลงเดี่ยวจะเล่นเข้าคนเดียวโดยตรงหรือเล่นไปพร้อมกับออร์เคสตรา ซึ่งปกติองค์ประกอบของโครงสร้างแบบ Rondo จะเป็น  A-B-A-C-A แต่ Rondo ของบทเพลงนี้จะถูกแต่งให้เป็น A-B-A-C-A-D-A เพื่อเพิ่มความสนุกสนาน ในบทเพลงนี้ส่วนใหญ่จะมีการใส่คอร์ดเจ็ดและอาศัยการเปลี่ยนบันไดเสียงไปเรื่อย ๆ เพื่อสร้างสีสันของบทเพลง

F.A. Hoffmeister

Gabriel_Fauré_Paul_Nadar_1905.jpeg

Trois melodies, Op.7               เป็นเซ็ตเพลงที่แต่งให้ Solo Voice และ Piano โดย       G. Faure มีทั้งหมด 5 บท โดยที่       Apres un reve (Op.7, No.1 ),                    Hymne (Op.7, No.2) , Barcarolle (Op.7, No.3) , References (Op.7 No.4) , External links             (Op.7, No.5) เรียงไปตามลำดับ

ในส่วนของ     Apres un reve นั้นได้มีการนำไปเรียบเรียงใหม่ให้กับเครื่องดนตรีอื่นๆ       Wolfgang Birtel    เองก็ได้นำ  Apres un reve มาเรียบเรียงใหม่ให้กับ Viola ให้อยู่ในบันไดเสียง    C minor      โดยบทเพลงนี้กล่าวถึงผู้หญิงคนนึงที่ได้ฝันถึงคนในอุดมคติ แต่เมื่อความฝันกำลังเป็นไปอย่างด้วยดีเธอก็ได้ตื่นขึ้นจากฝันที่งดงาม     เธอจึงรู้สึกแย่และคร่ำครวญที่ต้องตื่นจากฝันนั้น

G. Faure

Vincenzo_Bellini_(1801_-1835),_by_Anonym

Bellini เป็นนักประพันธ์ที่ได้แต่งบทเพลงสำหรับขับร้องและเปียโนที่เรียบง่ายและไพเราะ เขาได้ประพันธ์ผลงานในลักษณะนี้ไว้ 1 เล่ม ชื่อว่า Composizioni da Camera ซึ่งถูกแต่งในปี ค.ศ. 1820 แต่ไม่ได้ถูกเผยแพร่ออกไป จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1935 "Ma rendi pur contento" เป็นบทประพันธ์สุดท้ายในเล่มซึ่งมีความสวยงามและความเรียบง่ายในเนื้อร้อง ประพันธ์เนื้อร้องโดย Librettist Metastasio ความหมายของบทเพลงนี้ได้กล่าวถึงความสุขของฝ่ายหญิงคนหนึ่งซึ่งสำคัญมากกว่าความสุขของฝ่ายชายผู้แอบหลงรัก ในส่วนของแนวบรรเลงประกอบถูกบรรเลงบนฮาร์พโดยที่มือซ้ายเล่นเป็นขั้นคู่แปด และมือขวาเล่นเป็น Arpeggio อย่างไรก็ตามแนวบรรเลงประกอบนี้สามารถบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีอื่นได้อีกด้วยเช่น เปียโน ฯลฯ

V. Bellini

M. Ravel

ในบทเพลงนี้เป็นการนำบทกวีของ   Stéphane Mallarmé ชื่อว่า  Trois poèmes de Mallarmé       ซึ่งมีทั้งหมด 3 บท โดย Soupir เป็นลำดับที่ 1     ravel ได้นำบทกวีเหล่านี้มาเรียบเรียงและได้แต่งทำนองเพลงที่ช้าและไพเราะ

ในบทเพลงนี้ใช้เครื่องดนตรีทั้งหมดเป็นจำนวน 9 ชิ้นด้วยกัน ได้แก่  Piano  ,String quartet  ,2 Flute  ,2 Clarinet    โดยเริ่มการบรรเลงบทเพลงด้วยวง   String quartet และ Piano โดยบรรเลงเป็น Effects ที่เปรียบถึงบรรยากาศรอบๆและน้ำพุในช่วงที่ใกล้เข้าฤดูหนาว       หลังจากนั้นก็ Soloist ก็ตามเข้ามาในห้องที่ 3       หลังจากนั้นฟลูตจะเริ่มบรรเลงในห้องที่ 9 เพื่อเพิ่มบรรยากาศของบทเพลงให้ดูสงบนิ่งมากขึ้น แล้วคลาริเน็ตบรรเลงเข้ามาเป็นลำดับสุดท้าย

p01bqt98.jpg
bottom of page